วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

ภาคกลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                 คำขวัญจังหวัด “ราชธานีเก่า อู่ข้าวอู่น้ำ เลิศล้ำกานท์กวี คนดีศรีอยุธยาพระนครศรีอยุธยาจึงนับเป็นราชธานีที่มีอายุยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ตลอดระยะเวลา 417 ปีที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งราชอาณาจักรไทย มิได้เป็นเพียงช่วงแห่งความเจริญสูงสุดของชนชาติไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างสรรค์อารยธรรมของหมู่มวลมนุษยชาติซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศอีกด้วย แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะถูกทำลายเสียหายจากสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านหรือจากการบุกรุกขุดค้นของพวกเรากันเอง แต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบันนี้ยังมีร่องรอยหลักฐานซึ่งแสดงอัจฉริยภาพและความสามารถอันยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษแห่งราชอาณาจักรผู้อุทิศตนสร้างสรรค์ความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรม และความมั่งคั่งไว้ให้แก่ผืนแผ่นดินไทย หรือแม้แต่ชาวโลกทั้งมวล จึงเป็นที่น่ายินดีว่าองค์การ ยูเนสโก้ โดยคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติรับนครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และเป็นพื้นที่ที่ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2519 ไว้ในบัญชีมรดกโลก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 ณ กรุงคาร์เธจประเทศตูนีเซีย
                พระนครศรีอยุธยาโดดเด่นในเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ดังนั้น กิจกรรมท่องเที่ยวจึงเกี่ยวเนื่องกัน เช่น การลงเรือล่องชมเรือนไทยริมแม่น้ำ การขี่ช้างชมโบราณสถาน ทั้งในเกาะเมือง คือ เส้นทางวิหารพระมงคลบพิตร-วัดพระศรีสรรเพชญ์-วัดพระราม และเส้นทางนอกเมือง คือรอบวัดมเหยงคณ์นอกจากนี้ ททท. ยังร่วมจัดกิจกรรม “นั่งสามล้อ ต่อตุ๊กตุ๊ก” เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินทางชมความงดงามของโบราณสถานในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาด้วยรถสามล้อ ซึ่งเป็นพาหนะหลักของเมือง หรือจะนั่งรถสามล้อถีบไปเยือนกลุ่มโบราณสถานและชุมชนเก่าแก่บนเกาะเมือง ก็ได้บรรยากาศย้อนยุคดีไม่น้อยเลยทีเดียวกิจกรรมอีกอย่างที่น่าสนใจ คือการขี่จักรยานเที่ยวชมสถานที่ต่างๆ ในเกาะเมือง โดยมีร้านให้เช่าจักรยานหลายแห่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้ๆ กับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ     
      สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                วัดท่าการ้อง อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะมาสักการะพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ นามว่า "พระพุทธรัตนมงคล" หรือที่เรียกกันว่า "หลวงพ่อยิ้ม" สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ขณะที่บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองและสงบสุข ดังจะเห็นได้จากพระพุทธลักษณะที่งดงามและพระพักตร์ที่มีความเมตตา

 วัดพุทไธศวรรย์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำทางด้านใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง หากเดินทางโดยรถยนต์ และใช้เส้นทางสายอยุธยา-เสนา ข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชวรวิหาร แล้วเลี้ยวซ้าย จะผ่านวัดไชยวัฒนาราม มีป้ายบอกทางเป็นระยะไปจนถึงทางแยกซ้ายเข้าวัดพุทไธศวรรย์
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร อำเภอบางไทร เป็นศูนย์สาธิตและจำหน่ายศิลปหัตถรรม งานฝีมือที่มีคุณภาพมาตรฐานจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเพื่อฝึกอาชีพเกี่ยวกับงานศิลปหัตถรรมให้แก่เกษตรกร มีแผนกฝึกอบรมทั้งสิ้น 30 แผนก อาทิ การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยพืช
วังช้างอยุธยา แล เพนียด อำเภอพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่ตรงข้ามกับคุ้มขุนแผน มีบริการขี่ช้างทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น. ราคาประมาณ 100-500 บาท ขึ้นอยู่กับระยะเวลา 15หรือ 30 นาที
วัดภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากพระราชวังหลวงไปประมาณ 2 กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางเดียวกับทางไปจังหวัดอ่างทอง ทางหลวงหมายเลข309 กิโลเมตรที่ 26

วังช้างอยุธยา แล เพนียด อำเภอพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่ตรงข้ามกับคุ้มขุนแผน มีบริการขี่ช้างทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น. ราคาประมาณ 100-500 บาท ขึ้นอยู่กับระยะเวลา 15หรือ 30 นาที
วัดหน้าพระเมรุ อำเภอพระนครศรีอยุธยา  
ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง
สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช 2046 มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชิการาม
วัดพระศรีสรรเพชญ์ อำเภอพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย
วัดพนัญเชิงวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลคลองสวนพลู ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กิโลเมตร หรือเมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดพนัญเชิงอยู่ทางขวามือ
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา อยู่นอกเกาะเมืองตรงข้ามกับเจดีย์พระศรีสุริโยทัย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา สามารถใช้เส้นทางเดียวกับสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ไปจนถึงสี่แยกแล้วเลี้ยวซ้ายข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชฯ
วัดราชบูรณะ อำเภอพระนครศรีอยุธยา อยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ตรงข้ามวัดมหาธาตุ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1967 ณ บริเวณที่ถวายพระเพลิงเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยาซึ่งชนช้างกันจนถึงแก่พิราลัยและโปรดเกล้าฯให้ก่อเจดีย์ 2 องค์บริเวณนั้น เมื่อคราวเสียกรุงวัดนี้และวัดมหาธาตุถูกไฟไหม้เสียหายมาก ซากที่เหลืออยู่แสดงว่าวิหารและส่วนต่างๆ ของวัดนี้ใหญ่โต
พระราชวังบางปะอิน อำเภอบางปะอิน พระราชวังบางปะอิน ได้รับการบูรณะฟื้นฟูอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งองค์หนึ่งสำหรับเป็นที่ประทับ มีเรือนแถวสำหรับฝ่ายในและมีพลับพลาริมน้ำ
วัดพระราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา อยู่นอกเขตพระราชวังไปทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร สมเด็จพระราเมศวรทรงสร้างขึ้นตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่1(พระเจ้าอู่ทอง)
วัดไชยวัฒนาราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง เป็นวัดที่พระเจ้าปราสาททอง กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาองค์ที่ 24(พ.ศ. 2173-2198) โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2173 ได้ชื่อว่าเป็นวัดที่มีความงดงามมากแห่งหนึ่งในกรุงศรีอยุธยา
วัดใหญ่ชัยมงคล อำเภอพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก จากกรุงเทพฯเข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ วัดนี้ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1900
วัดมหาธาตุ อำเภอพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ทางทิศตะวันออกของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พงศาวดารบางฉบับกล่าวว่าวัดนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ต่อมาสมเด็จพระราเมควรโปรดเกล้าฯให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดเมื่อ พ.ศ.1927

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น