จังหวัดขอนแก่น
คำขวัญจังหวัด ”พระธาตุขามแก่น
เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่
ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองมวยโอลิมปิก” จังหวัดขอนแก่นเป็นจังหวัดขนาดใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นอีกจังหวัดหนึ่งของภูมิภาค
นอกจากจะมีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ในบริเวณศูนย์กลางของภาคอีสานแล้ว
ยังเป็นจังหวัดศูนย์กลางทางการศึกษาและเทคโนโลยีของภูมิภาค
เนื่องจากเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
และมีระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ภายในอำเภอเมืองครบครัน
ทั้งที่พักหลายระดับและบริการต่างๆ จำนวนมาก มีทรัพยากรทั้งทางธรรมชาติ
ประวัติศาสตร์ และด้านอื่นๆ หลากหลายรูปแบบ
และที่สำคัญคือเป็นที่ตั้งของสนามบินทั้งหมดนั้นล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมศักยภาพทางการท่องเที่ยวของจังหวัดได้เป็นอย่างดี
จึงทำให้ขอนแก่นในปัจจุบันเป็นเมืองที่มีความสำคัญในฐานะเมืองท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดขอนแก่น
ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์หลักเมืองสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพสักการะของชาวขอนแก่นแห่งนี้ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาสุขใจ
ถนนเทพารักษ์หน้าเทศบาลขอนแก่น ท่านเจ้าคุณปู่พระราชสารธรรมมุนี
และหลวงธุรนัยพินิจ
อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นได้ริเริ่มสร้างขึ้นโดยนำหลักศิลาจารึกจากโบราณสถานในท้องที่อำเภอชุมแพมาประกอบพิธีทางพุทธศาสนา
และตั้งเป็นศาลหลักเมืองเมื่อวันที่20 สิงหาคม พ.ศ. 2499
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ศึกษาวิจัยซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ภูเวียง โดย คำว่า ภูเวียง ในชื่อพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง
สืบเนื่องจากพื้นที่พิพิธภัณฑ์เคยเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอภูเวียง มีหน่วยงานราชการในอำเภอเวียงเก่า 3 หน่วยงานหลักที่ยังคงมีคำว่าภูเวียง
คือ อุทยานแห่งชาติภูเวียง โรงเรียนภูเวียงวิทยายน และพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่ามีการแยกอำเภอเวียงเก่าออกจากอำเภอภูเวียง
จึงขออย่าได้สับสนการเข้าถึงพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง
หากเริ่มต้นที่เมืองขอนแก่น (ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ445 กิโลเมตร) ให้เดินทางไปตามเส้นทางสาย 12 (ถนนมะลิวัลย์)
ผ่านอำเภอบ้านฝาง อำเภอหนองเรือ เลยอำเภอหนองเรือไป 3 กิโลเมตร ให้เลี้ยวขวาไปอำเภอภูเวียง
ถึงอำเภอภูเวียงให้ตรงไปเข้าหุบเขาภูเวียง จนถึงพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง
ด้วยระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร
พระธาตุขามแก่น พระธาตุขามแก่นสร้างขึ้นประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ
ตำบลบ้านขาม ตามประวัติโดยย่อกล่าวว่า
โมริยกษัตริย์เจ้าเมืองโมรีย์ซึ่งเป็นเมืองอยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา
มีความประสงค์ที่จะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ไว้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่
ๆ มาบรรจุพระธาตุพนม จึงโปรดให้พระอรหันต์และพระเถระเจ้าคณะรวม9 องค์ นำขบวนอัญเชิญพระอังคารมาในครั้งนี้ เมื่อผ่านมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่ง
ซึ่งมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่น เนื่องจากเป็นเวลาพลบค่ำแล้ว
และบริเวณนี้ภูมิประเทศราบเรียบดีจึงหยุดคณะพักชั่วคราว
รุ่งเช้าจึงเดินทางต่อไปถึง ภูกำพร้า ปรากฏว่า พระธาตุพนม ได้สร้างเสร็จแล้ว จึงเดินทางกลับ และตั้งใจว่าจะนำพระอังคารธาตุกลับไปประดิษฐานไว้ที่บ้านเมืองของตน แต่เมื่อเดินทางผ่านดอนมะขามอีกครั้งปรากฏว่าแก่นมะขามที่ตายแล้วนั้น กลับยืนต้นแตกกิ่งก้านผลิใบเขียวชอุ่มเป็นที่น่าอัศจรรย์ คณะอัญเชิญพระอังคารธาตุจึงพร้อมใจกันสร้างเจดีย์ครอบต้นมะขามนี้ พร้อมกับนำพระอังคารธาตุและพระพุทธรูปบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ และให้นามว่า พระธาตุขามแก่น มาจนทุกวันนี้ พระธาตุขามแก่น ถือว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น ทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะมีงานฉลองและนมัสการพระธาตุเป็นประจำ
รุ่งเช้าจึงเดินทางต่อไปถึง ภูกำพร้า ปรากฏว่า พระธาตุพนม ได้สร้างเสร็จแล้ว จึงเดินทางกลับ และตั้งใจว่าจะนำพระอังคารธาตุกลับไปประดิษฐานไว้ที่บ้านเมืองของตน แต่เมื่อเดินทางผ่านดอนมะขามอีกครั้งปรากฏว่าแก่นมะขามที่ตายแล้วนั้น กลับยืนต้นแตกกิ่งก้านผลิใบเขียวชอุ่มเป็นที่น่าอัศจรรย์ คณะอัญเชิญพระอังคารธาตุจึงพร้อมใจกันสร้างเจดีย์ครอบต้นมะขามนี้ พร้อมกับนำพระอังคารธาตุและพระพุทธรูปบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ และให้นามว่า พระธาตุขามแก่น มาจนทุกวันนี้ พระธาตุขามแก่น ถือว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น ทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะมีงานฉลองและนมัสการพระธาตุเป็นประจำ
อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน รูปลักษณ์ภายนอกของอุทยานแห่งนี้คือเทือกเขาหินปูนที่มีหน้าผาตัดตรงดิ่งลงมาเป็นริ้ว
ๆ คล้ายผ้าม่าน สภาพป่าของที่นี่ยังอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าดิบ และป่าไม้เบญจพรรณ สภาพอากาศจะเย็นชื้นเกือบตลอดปี
อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 218, 750 ไร่
ครอบคลุมอาณาบริเวณในอำเภอภูผาม่าน และอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอภูกระดึง
จังหวัดเลย
อุทยานแห่งชาติน้ำพองอุทยานแห่งชาติน้ำพอง อยู่ใน อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น มีพื้นที่ทั้งสิ้น
197 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่หลายอำเภอในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ อุบลรัตน์
ภูเวียง บ้านฝาง มัญจาคีรี และ โคกโพธิ์ชัย และสองอำเภอในจังหวัดชัยภูมิ ได้แก่
บ้านแท่น และแก่งคร้อ ที่ทำ การอุทยานแห่งชาติน้ำพอง ตั้งอยู่บริเวณอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์
เป็นทั้งแหล่งต้นน้ำของลำน้ำชี ลำน้ำพอง และแหล่งสมุนไพร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา
ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้งในบริเวณอุทยานมีจุดชมวิวอยู่หลายแห่ง ได้แก่
"จุดชมวิวหินช้างสี" เป็นกลุ่มหินใหญ่บนสันเขาป่าโสกแต้
ด้านข้างของหินมีรอยดินที่ช้างใช้ลำตัวสีก้อนหินติดอยู่
ใช้เวลาเดินเท้าจากที่ทำการประมาณ 2 ชั่วโมง หรือโดยรถยนต์จากสวนป่าโสกแต้
ระยะทางประมาณ 8 กม.จากจุด นี้จะมองเห็นทัศนียภาพของอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์
และเมืองขอนแก่น เดินเท้าจากจุดนี้ไป 30 นาทีจะเป็น "จุดชมวิวพลาญชาด"
เป็นลานหินที่มีต้นชาดขึ้นอยู่ ถัดไปคือ "ผาสวรรค์" เป็นหน้าผาบนเทือกเขาป่าโสกแต้อยู่บริเวณ
บ้านโนนสวรรค์ อำเภออุบลรัตน์
เป็นจุดชมทัศนียภาพของอ่างเก็บน้ำที่งดงามอีกจุดหนึ่ง
ใช้เวลาเดินเท้าจากที่ทำการประมาณ 2 ชั่วโมง สถานที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งก็คือ
"คำโพน" เป็นบ่อหินกลมคล้ายปล่องภูเขาไฟเกิดจากสภาพทางธรณีวิทยา
กู่ประภาชัย หรือ กู่บ้านนาคำน้อยตั้งอยู่ที่บ้านนาคำน้อย ตำบลบัวใหญ่ การเดินทาง
ไปทางเดียวกับพระธาตุขามแก่น ตรงไปก่อนถึงสะพานข้ามคลองส่งน้ำจากลำน้ำพอง
เลี้ยวซ้ายตามถนนเลียบคลองส่งน้ำแล้วเลี้ยวขวาข้ามสะพานเข้าหมู่บ้านนาคำน้อย
กู่จะอยู่ภายในวัดกู่บ้านนาคำน้อย หรือจะขับรถข้ามสะพานข้ามคลองส่งน้ำ
ตรงไปตามถนนลาดยางประมาณ 6 กิโลเมตร ก็จะมีป้ายบอกทางให้เลี้ยวซ้ายผ่านหมู่บ้านไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงกู่ประภาชัย
กู่ประภาชัย คือ
กลุ่มโบราณสถานที่มีลักษณะแผนผังอย่างเดียวกันกับโบราณสถานที่พบหลักฐานแสดงอโรคยาศาลหรือสถานพยาบาลที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมรโบราณโปรดฯให้สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18
(พ.ศ. 1720-1780) คือประกอบด้วยปรางค์ประธานรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
มีมุขยื่นทางด้านหน้า
ด้านขวามือเยื้องไปข้างหน้าเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมที่เรียกว่า บรรณาลัย
อาคารทั้งสองล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วโดยมีโคปุระหรือซุ้มประตูทางเข้าออกด้านหน้าหรือทางด้านทิศตะวันออกเพียงด้านเดียว
นอกกำแพงที่มุมซ้ายมีสระน้ำ 1 สระทั้งหมดสร้างด้วยศิลาแลง
โดยมีเสาประดับประตู ทับหลังเป็นหินทราย
ปัจจุบันหักพังแต่ได้รับการดูแลรักษาจากทางวัดเป็นอย่างดี
ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 8 มีนาคม
พ.ศ.2478
โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น โฮง คือ หอเก็บสมบัติ
โฮงมูนเมืองขอนแก่น คือ หอเก็บสมบัติที่เก็บรวบรวมเรื่องราวอันเป็นที่มาของเมืองขอนแก่น
ตั้งอยู่บริเวณบึงแก่นนคร อ.เมือง
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิตและเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าข้อมูลประวัติศาสตร์เมืองขอนแก่น
ค่าเข้าชม เด็ก คนละ 10 บาท ผู้ใหญ่ คนละ 20 บาท ชาวต่างชาติ คนละ 90 บาท เปิดให้เข้าชมทุกว้น เวลา 12.00-20.00 น. ยกเว้นวันจันทร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเทศบาลนครขอนแก่น โทร. 0-4327-1173, 0-4322-4031 ต่อ 1603 ในวันและเวลาราชการ
ค่าเข้าชม เด็ก คนละ 10 บาท ผู้ใหญ่ คนละ 20 บาท ชาวต่างชาติ คนละ 90 บาท เปิดให้เข้าชมทุกว้น เวลา 12.00-20.00 น. ยกเว้นวันจันทร์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเทศบาลนครขอนแก่น โทร. 0-4327-1173, 0-4322-4031 ต่อ 1603 ในวันและเวลาราชการ
อุทยานแห่งชาติภูเวียง เมื่อพูดถึงอุทยานแห่งชาติภูเวียงนักท่องเที่ยว
ก็ต้องนึกถึงไดโนเสาร์ ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าบริเวณที่ราบสูงที่อยู่ในเขตประเทศไทยปัจจุบันนั้นจะเคยเป็นบ้านของไดโนเสาร์มาก่อนจนกระทั่งเมื่อปี
พ.ศ. 2519 มีการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียง
ระหว่างการสำรวจนักธรณีวิทยาได้ค้นพบซากกระดูกชิ้นหนึ่งเข้า และเมื่อส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสวิจัยผลปรากฏออกมาว่าเป็นกระดูกหัวเข่าข้างซ้ายของไดโนเสาร์
จากนั้นนักสำรวจก็ได้ทำการขุดค้นกันอย่างจริงจังเรื่อยมากระทั่งปัจจุบัน
อุทยานแห่งชาติภูเวียง ครอบคลุมพื้นที่ 380 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอเวียงเก่า อำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู และอำเภอชุมแพ ประกอบด้วยสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ บนยอดภูประตูตีหมา หลุมขุดค้นที่ 1ได้พบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์หนึ่งมีลำตัวสูงใหญ่ประมาณ 15 เมตร คอยาว หางยาว เป็นพันธุ์กินพืชซึ่งไม่เคยพบที่ใดมาก่อน จึงได้อัญเชิญพระนามของสมเด็จพระเทพฯ มาตั้งชื่อ ไดโนเสาร์ พันธุ์นี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติว่า "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่" (PhuwianggosaurasSirindhornae)และในบริเวณหลุมขุดค้นเดียวกันนั้นเอง นักสำรวจได้พบฟันของไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อปะปนอยู่มากกว่า10 ซี่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าโซโรพอดตัวนี้ อาจเป็นอาหารของเจ้าของฟันเหล่านี้ แต่ในกลุ่มฟันเหล่านี้มีอยู่หนึ่งซี่ ที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป เมื่อนำไปศึกษาปรากฎว่าฟันชิ้นนี้เป็นลักษณะฟันไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ ที่ไม่เคยค้นพบมาก่อนเช่นกัน จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ นายวราวุธ สุธีธร ว่า "ไซแอมโมซอรัส สุธีธรนี่" (SiamosaurusSuteethorni) ผู้สนใจสามารถเดินไปชมได้ หลุมขุดค้นที่ 1 นั้นอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการอุทยานและยังสามารถเดินไปชมหลุมขุดค้นที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงด้วย
ฟอสซิล "ไซแอมโมไทรันนัส อีสานเอ็นซิส" (SiamotyrannusIsanensis) เป็นสิ่งที่ชี้ว่าไดโนเสาร์จำพวกไทรันโนซอร์มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เพราะฟอสซิลที่พบที่นี่เป็นชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด (120-130 ล้านปี) แต่กระดูกชิ้นนี้ได้นำไปจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในกรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพฯ
บริเวณหินลาดป่าชาด หลุมขุดค้นที่ 8 พบรอยเท้าไดโนเสาร์จำนวน 68 รอยอายุประมาณ 140 ล้านปี เกือบทั้งหมดเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์เล็กที่สุดในโลกเดิน 2 เท้า แต่หนึ่งในรอยเท้าหล่านั้น มีขนาดใหญ่ผิดจากรอยอื่น คาดว่าเป็นของคาร์โนซอรัส การไปชมควรเดินทางด้วยรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ห่างจากที่ทำการ 19 กิโลเมตร ส่วนฟอสซิลดึกดำบรรพ์อื่น ๆ ที่ขุดพบ เช่น ซากลูกไดโนเสาร์ ซากจระเข้ขนาดเล็ก ซากหอย 150 ล้านปี จะอยู่กระจัดกระจายกันอยู่ตามหลุมต่าง ๆ
อุทยานแห่งชาติภูเวียง ครอบคลุมพื้นที่ 380 ตารางกิโลเมตร ในเขตอำเภอเวียงเก่า อำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู และอำเภอชุมแพ ประกอบด้วยสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ บนยอดภูประตูตีหมา หลุมขุดค้นที่ 1ได้พบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์หนึ่งมีลำตัวสูงใหญ่ประมาณ 15 เมตร คอยาว หางยาว เป็นพันธุ์กินพืชซึ่งไม่เคยพบที่ใดมาก่อน จึงได้อัญเชิญพระนามของสมเด็จพระเทพฯ มาตั้งชื่อ ไดโนเสาร์ พันธุ์นี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติว่า "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่" (PhuwianggosaurasSirindhornae)และในบริเวณหลุมขุดค้นเดียวกันนั้นเอง นักสำรวจได้พบฟันของไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อปะปนอยู่มากกว่า10 ซี่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าโซโรพอดตัวนี้ อาจเป็นอาหารของเจ้าของฟันเหล่านี้ แต่ในกลุ่มฟันเหล่านี้มีอยู่หนึ่งซี่ ที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป เมื่อนำไปศึกษาปรากฎว่าฟันชิ้นนี้เป็นลักษณะฟันไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ ที่ไม่เคยค้นพบมาก่อนเช่นกัน จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ นายวราวุธ สุธีธร ว่า "ไซแอมโมซอรัส สุธีธรนี่" (SiamosaurusSuteethorni) ผู้สนใจสามารถเดินไปชมได้ หลุมขุดค้นที่ 1 นั้นอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการอุทยานและยังสามารถเดินไปชมหลุมขุดค้นที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงด้วย
ฟอสซิล "ไซแอมโมไทรันนัส อีสานเอ็นซิส" (SiamotyrannusIsanensis) เป็นสิ่งที่ชี้ว่าไดโนเสาร์จำพวกไทรันโนซอร์มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เพราะฟอสซิลที่พบที่นี่เป็นชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด (120-130 ล้านปี) แต่กระดูกชิ้นนี้ได้นำไปจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในกรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพฯ
บริเวณหินลาดป่าชาด หลุมขุดค้นที่ 8 พบรอยเท้าไดโนเสาร์จำนวน 68 รอยอายุประมาณ 140 ล้านปี เกือบทั้งหมดเป็นรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อพันธุ์เล็กที่สุดในโลกเดิน 2 เท้า แต่หนึ่งในรอยเท้าหล่านั้น มีขนาดใหญ่ผิดจากรอยอื่น คาดว่าเป็นของคาร์โนซอรัส การไปชมควรเดินทางด้วยรถขับเคลื่อน 4 ล้อ ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ห่างจากที่ทำการ 19 กิโลเมตร ส่วนฟอสซิลดึกดำบรรพ์อื่น ๆ ที่ขุดพบ เช่น ซากลูกไดโนเสาร์ ซากจระเข้ขนาดเล็ก ซากหอย 150 ล้านปี จะอยู่กระจัดกระจายกันอยู่ตามหลุมต่าง ๆ
พระมหาธาตุแก่นนคร วัดหนองแวง (พระมหาธาตุแก่นนคร)
ตั้งอยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก่นนคร อำเภอเมือง
ภายในวัดหนองแวงเมืองเก่าซึ่งเป็นพระอารามหลวง มีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ
พระธาตุเก้าชั้นฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 50 เมตร
เรือนยอดทรงเจดีย์จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และมหามังคลานุสรณ์ 200 ปี
เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร
มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ
เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น